มาตรฐานการเรียนรู้


มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2554

1.ทักษะคุณธรรมและจริยธรรม ที่ต้องการพัฒนา
  1.1 ตระหนักรู้ในคุณค่าและรักษา คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
  1.2 มีระเบียบวินัย  ตรงต่อเวลา  และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
  1.3.เป็นผู้รู้และปฏิบัติตามกฏ กติกา มารยาททางสังคม ด้วยความซี่อสัตย์ สุจริต และจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีหลักการและเหตุผล
  1.4. เคารพสิทธิ ศักยภาพ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
  1. 5. การเคารพและใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆตามกฏหมายของสังคมอย่างถูกต้อง เป็นธรรม มีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะของผู้คิดริเริ่ม ผู้สร้างสรรค์ ผู้นำเสนอเผยแผ่และพัฒนาผลงานศิลปกรรมสู่สังคม
  1. 6. เคารพ นับถือ เห็นคุณค่า พิทักษ์รักษา สืบสานประสานผลประโยชน์ ต่อวงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งระดับประเทศและสากลประเทศ
2.ทักษะความรู้ ที่ต้องการเน้น ที่ต้องการพัฒนา
  2.1 มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาทางศิลปกรรมตามสาขา หรือแขนงที่ศึกษาทั้งในแนวกว้างและลึก
  2.2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้  บูรณาการเนื้อหาและเทคนิควิธีจัดการงาน ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการคิดสร้างสรรค์
  2.3 มีความตระหนักรู้  ความพยายามในการพัฒนาผลงาน ด้วยการใฝ่พัฒนาตน ฝึกฝนทักษะความชำนาญทางศิลปกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. 4. สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิสัยทัศน์ในการทำงานสร้างสรรค์ ให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบของวิทยาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2.5.สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมร่วมกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
3.ทักษะทางปัญญา ที่ต้องการพัฒนา
  3.1.สามารถแสดงผลการคิดวิเคราะห์ปัญหา  เข้าใจและจดจำลำดับขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกวิธี มีการอรรถาธิบาย ด้วยการใช้สื่อและสาร ผ่านการแสดงออกอย่างชาญฉลาด เหมาะสม งดงามตามวัตถุประสงค์และหลักการทางศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ
  3.2.สามารถใช้ทักษะชำนาญการทางศิลปกรรมผสานสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา เพื่อสื่อแสดงการสืบค้น  การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการสื่อความหมาย การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ และอย่างเป็นผู้รู้ตามระดับสติปัญญา
  3.3.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรมและการบริหารจัดการงานด้วยภูมิปัญญาแห่งตน ภูมิปัญญาไทยและความรู้ร่วมสมัยสากลได้อย่างเหมาะสม
  3.4.มีความสามารถในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ สู่สาธารณะและสากล หรือเพื่อสร้างโอกาสการอาชีพ ได้อย่างสอดคล้องกับภาวะการณ์ สถานการณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
  4.1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  สามารถทำงานเป็นทีม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและจัดลำดับความสำคัญอย่างมีหลักการและเหตุผล
  4.2.มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มทำงาน ในทุกสถานการณ์ของบทบาทผู้นำและผู้ตาม การควบคุมอารมณ์ การปฏิบัติตนและความรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
  4.3.มีทักษะในการบริหารจัดการบุคลิกภาพส่วนตน การปรับปรุงตน และกล้าแสดงออกทั้งการคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและรู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
  4. 4.รู้จักวางแผนกิจกรรมและโครงงาน โดยมีความรับผิดชอบในการดำเนินการ การตรงต่อกำหนดเวลานัดหมาย การสรุปผลการเรียนรู้ทั้งของตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องการพัฒนา
  5.1.มีทักษะความสามารถในการคิดคำนวณต้นทุน-กำไร การกำหนดระยะเวลาการดำเนินการผลิตผลงาน การประมาณราคาค่าวัสดุ การคิดค่าบริการความคิดสร้างสรรค์และการว่าจ้างผลิตผลงาน ตามแบบอย่างการประกอบวิชาชีพหรือการบริการด้านศิลปกรรม
  5.2. มีทักษะในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ภาษาสัญลักษณ์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รูปแบบ และในผลงานที่สร้างสรรค์ไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและทราบกาละเทศะทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม
  5.3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งทางการสนทนา การฟัง การอ่าน การแปล  การเขียนสรุปประเด็นความคิด และการนำเสนอผลงานตามกระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์ ด้วยภาษาไทยและหรือภาษาสากล เพื่อการติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องด้านการวางแผน อำนวยการ การบริหารจัดการงานในสายงานการผลิต การจัดจำหน่ายและหรือการบริการ ได้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของภาระงาน
  5.4.มีทักษะการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและร่วมสมัย รู้จักปรับประยุกต์ใช้ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการคิด กระบวนการสร้างสรรค์ กระบวนการนำเสนอและเผยแผ่ได้อย่างเหมาะสมและอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6.ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรม ที่ต้องการพัฒนา
  6.1 มีทักษะฝีมือ ความถนัดและความชำนาญพิเศษทางศิลปกรรม ในศาสตร์สาขาหรือรายวิชาเฉพาะที่สนใจศึกษาเชิงลึก สามารถร้างสรรค์ผลงานตามประเภทงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
  6.2 มีทักษะและประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ เพื่อสนับสนุนกระบวนการคิดออกแบบ เขียนแบบ กระบวนการผลิตและกระบวนหลังการผลิต โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานและบูรณาการได้หลากหลายระบบตามศักยภาพและความพร้อม
  6.3 มีทักษะในการนำเสนอรายงาน การจัดแสดงผลงานและสร้างแฟ้มสะสมผลงานโดยใช้รูปแบบ วิธีการเครื่องมือ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
  6.4 มีทักษะในการออกแบบ ปฏิบัติ พัฒนา และนำเสนอ โครงงาน การพัฒนาทักษะวิชาชีพตามความสนใจ ความถนัด และตามวิถีระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น